วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

36 กลยุทธ์ของจีนกับธุรกิจ ตอน ปิดฟ้าข้ามทะเล

     สวัสดีครับในบทความนี้ขอนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ 36กลยุทธ เป็นการนำรวมเอาวิธีทำศึกมารวบรวมเป็น 36 กลยุทธ์หลักๆในการทำสงครามของประเทศจีน ไม่มีข้อมูลแน่ชัดเกี่ยวกับผู้เขียนว่าเป็นใคร แต่ก็มีการอ้างอิงในพงศาวดารอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามหลัก 36กลยุทธ์นี้ได้ถูกอย่างแพร่หลายมากทีเดียว ในสามก๊กเองก็จะมีครบทั้ง 36 กลยุทธ์
36 กลยุทธ์ภาษาจีน อ้างอิงจาก goodorient 


พิชัยสงคราม 36 กลยุทธ์นั้นถูกจัดเป็นหมวดหมู่ย่อยทั้งหมด 6 หมวด คือ

  1. กลยุทธ์ชิงได้เปรียบ
  2. กลยุทธ์ชิงจังหวะ
  3. กลยุทธ์โจมตี
  4. กลยุทธ์อุบายศึก
  5. กลยุทธ์ตบตา
  6. กลยุทธ์พิชิตศึก
ทุกๆหมวดจะมีกลยุทธ์ละ 6 แบบ แต่ว่า 3 หมวดหลังก็จะพูดถึงการใช้กลยุทธ์เมื่อไม่แน่ใจว่าจะรบชนะหรือไม่ก็เป็นเนื้อหาที่แปลกดีครับ

     ส่วนในบทความนี้จะนำเสนอเฉพาะกลยุทธ์แรกของ พิชัยสงคราม36กลยุทธ์นะครับ คือ ปิดฟ้าข้ามทะเล ถูกจัดอยู่ในหมวด กลยุทธ์ชิงได้เปรียบ ที่มาของชื่อมาจากในสมัยราชวงศ์ถัง เนื่องจากฮ่องเต้กลัวการเดินทางทางทะเล ก็เลยมีอุบายจัดสถานที่ให้ฮ่องเต้ดูไม่ออกว่าเป็นบนเรือ (ฟ้า=ฮ่องเต้)
ภาพทัพเรือของโจโฉ ในภาพยนตร์ red cliff
อะไรคือ ปิดฟ้าข้ามทะเล(Deceive the heavens to cross the ocean)?
     ต้องขอกล่าวว่า เมื่อเราเตรียมการที่จะทำอะไรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรบหรือการดำเนินตามแผนธุรกิจที่วางเอาไว้ แน่นอนว่าเมื่อเตรียมพร้อมโดยสมบูรณ์แบบเพื่อลงมือแล้ว กำลังใจและความมุ่งมั่นในการดำเนินงานต่อไปนั้น ย่อมลดลงกว่าเดิม และจะทำให้เกิดความประมาทต่อคู่แข่งก็เป็นได้ นี่ก็เป็นหลักจิตวิทยาที่คนโบราณนำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ครับ ถามว่ากำลังใจและความมุ่งมั่นลดลงเป็นอย่างไร ง่ายๆเลย อย่างเช่นตอนโจโฉจะออกศึกเซ็กเพ็ก บังทองออกความคิดให้โจโฉนำเรือมาต่อกันโดยใช้โซ่เพื่อให้กองทัพเรือแข็งแรงและป้องกันอาการเมาเรือของทหารด้วย ก่อนออกศึกใหญ่นั้นทัพฝ่ายกังตั๋งก็ยกกำลังออกมาสู้กับทัพโจโฉทางน้ำโดยแกล้งแพ้ เพื่อให้โจโฉคิดว่าการใช้เรือมาต่อกันเป็นวิธีที่ๆจะชนะศึกได้ นั่นคือทำให้โจโฉตายใจและไม่มีการคิดดำเนินแผนสำรอง เพราะฉะนั้นก็จะสามารถดำเนินการใช้แผนต่อไปได้ เพราะว่าการไม่มีแผนสำรองก็สามารถทำให้ครองเกมได้ทั้งหมด

จุดประสงค์ คืออะไร?
     ง่ายๆก็คือการอำพรางเพื่อหลอกฝ่ายตรงข้าม และฉวยโอกาสในการเผด็จศึกนั่นเอง วิธีคือการสร้างพฤติกรรมซ้ำๆให้ฝ่ายตรงข้ามตายใจและในที่สุดเขาก็ลดระดับการตอบสนองต่อพฤติกรรมของเรา ถ้าในการศึกก็อย่างเช่นทำให้ข้าศึกเข้าใจผิดว่าเราจะออกรบแต่สุดท้ายเรากลับนิ่งเฉยๆ และถ้าทำบ่อยๆครั้งข้าศึกก็อาจจะถึงขั้นไม่ตอบสนองอะไร และเมื่อพฤติกรรมของข้าศึกเป็นเช่นนั้น เราก็ถือโอกาสเผด็จศึกได้ทันที เพราะข้าศึกไม่ได้เตรียมการรบ
ภาพสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเยอรมันยึดฝรั่งเศส

     เอาล่ะครับเมื่อรู้ว่ามันคืออะไรแล้วผมจะเล่าเกี่ยวกับการใช้กลยุทธนี้ในตะวันตกแล้วกันนะครับ ก็คือได้มีการใช้กลยุทธนี้ในสงครามโลกครั้งที่2 เมื่อเยอรมันบุกยึดฝรั่งเศสครับ ฮิตเลอร์ใช้วิธีที่ว่าประกาศวันเวลาในการรบกับพันธมิตร และสุดท้ายก็ได้มีการปลี่ยนแปลงวันเวลาอยู่เรื่อยๆ แต่ครั้งที่จะบุกจริงๆ หน่วยข่าวกรองของอังกฤษและฝรั่งเศสก็ได้แจ้งกับทางรัฐบาลของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ฝ่ายรัฐบาลคิดว่าเดี๋ยวฮิตเลอร์ก็คงเปลี่ยนอีก ก็เลยทำให้ฝรั่งเศสถูกยึดภายในเวลาเพียงแค่ 40 วันเท่านั้น

เราสามารถนำไปใช้ในธุรกิจได้อย่างไร?
     ก็ขึ้นอยู่แล้วแต่สถานการณ์ กลยุทธ์นี้ก็นำมาใช้ได้ค่อนข้างหลากหลาย ถ้าการตลาดเราก็ใช้ได้ในการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อสินค้าของเรา ส่วนการแข่งกับคู่แข่งทางธุรกิจก็อาจจะทำให้เขาคิดว่าเราทำซ้ายแต่ที่จริงเราขวาเป็นต้น หรือทำให้คิดว่าเราจะไม่ใช้แผน1 แต่ที่จริงเราจะใช้แผน1 เพื่อให้คู่แข่งเตรียมการรับมือกับการดำเนินธุรกิจของเราไปอีกแบบเพื่อลดการขาดสภาพคล่องของแผน ถ้าเป็นงานบริหารก็ดูเหมือนไม่จำเป็นเลยหรืออาจจะใช้ในการสร้างความแปลกใจ ถ้าเป็นในฐานะพนักงานก็อาจจะใช้ในการสร้างผลงานให้เป็นที่น่าจดจำ

แต่ท้ายที่สุดแล้วทุกๆอย่างก็ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานการณ์ของมันนะครับถึงจะเกิดผลสำเร็จมากที่สุด


1 ความคิดเห็น:

สามก๊กวิทยา กล่าวว่า...

กลยุทธ์นี้ในวงธุรกิจ หาตัวอย่างที่ดีมีประโยชน์ยาก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยง
มองแง่อาจเป็นความชาญฉลาดทางธุรกิจ แต่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "การต้มตุ๋น" ครับ