วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ตำราพิชัยสงครามซุนวูกับการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ บทที่ 2


    เมื่อเราประเมินสถานการณ์ภายในและภายนอกในองค์กรเราได้แล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปก็คือเราจะแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจอย่างไร เวลาไหนจะเหมาะสม และคุ้มหรือไม่ที่จะทำตามแผนกลยุทธ์ที่ถูกนำเสนอในที่ประชุม


บทที่ 2 ของพิชัยสงครามซุนวู (ขอบคุณเว็บ thai samkok สำหรับเนื้อหาบทที่ 2)
อันหลักแห่งการบัญชาทัพนั้น ต้องใช้รถเร็วพันคัน รถหุ้มหนังพันคัน พลรบสิบหมื่น ขนเสบียงพันลี้ ค่าใช้จ่ายในและนอกประเทศ ค่าใช้จ่ายการทูต ค่าซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ ค่ารถรบเสื้อเกราะ ต้องสิ้นเปลืองวันละพันตำลึงทองดังนี้ จึงจะเคลื่อนพลสิบหมื่นออกรบได้ เมื่อรบพึงชนะเร็ว ยืดเยื้อกำลังก็เปลี้ยขวัญทหารก็เสีย ตีเมืองจักไร้พลัง ทำศึกนอกประเทศนาน ในประเทศจักขาดแคลน เมื่อกำลังเปลี้ยขวัญทหารเสีย สูญสิ้นทั้งไพร่พลและเศรษฐกิจ เจ้าครองแคว้นอื่น จักฉวยจุดอ่อนเข้าบุกรุก แม้จะมีผู้เยื่ยมด้วยสติปัญญาก็สุดจะแก้ไขให้กลายดีเคยฟังว่า ทำศึกพึงชนะเร็วแม้จะไม่ดีนัก แต่ไม่เคยเห็นว่า มีการทำศึกที่ชาญฉลาดทว่าต้องยืดเยื้อ ส่วนที่ว่าทำศึกยืดเยื้อเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ ก็ไม่เคยมีมาก่อน ฉะนั้น ผู้มิรู้ผลร้ายแห่งการทำศึกอย่างถ่องแท้ ย่อมไม่สามารถรู้ผลดีแห่งการทำศึกอย่างถ่องแท้ ได้เช่นกัน ผู้สันทัดในการบัญชาทัพ จักเกณฑ์พลมิซ้ำสอง ส่งเสบียงมิซ้ำสาม ใช้ยุทโธปกรณ์ประเทศตน เอาเสบียงจากข้าศึก อาหารของกองทัพจึงพอเพียงประเทศชาติยากจนเพราะส่งเสบียงไกลให้กองทัพ ส่งเสบียงไกล ราษฎรต้องลำเค็ญ ใกล้กองทัพของจักแพง ของแพงทรัพย์สินราษฎรจักขอดแห้ง เมื่อพระคลังร่อยหรอ ก็เร่งรีดภาษีไพร่พลสูญเสีย ทรัพย์สินสิ้นเปลือง ทุกครัวเรือนในประเทศจึงว่างเปล่า สมบัติราษฎรต้องสูญไปเจ็ดในสิบส่วน ทรัพย์สินของหลวงรถรบเสียหายม้าศึกอ่อนเปลี้ย เสื้อเกราะและเกาทัณฑ์ ของ้าวและโล่ดั้ง วัวควายและรถสัมภาระ ก็สูญไปหกในสิบส่วนฉะนั้น แม่ทัพผู้มีสติปัญญา พึงหาอาหารจากข้าศึก เอาข้าวข้าศึกหนึ่งจง เท่ากับของเราสิบจง เอาอาหารสัตว์หนึ่งสือ เท่ากับของเรายื่สิบสือ ฉะนั้น เมื่อจะเข่นฆ่าข้าศึก พึงให้ไพร่พลโกรธแค้น เมื่อจักกวาดต้อนสินศึก พึงตั้งรางวัลไพร่พล ฉะนั้น ในศึกรถรบ เมื่อยึดรถรบข้าศึกได้กว่าสิบคัน พึงรางวัลผู้ยึดได้ก่อน แล้วให้เปลี่ยนธงบนรถ ขับร่วมในขบวนเรา พึงเลี้ยงดูเชลยให้ดี นี้ก็คือที่ว่ารบชนะข้าศึก เรายิ่งเข้มแข็งฉะนั้น ทำศึกจึงสำคัญที่รบเร็ว ใช้สำคัญที่ยืดเยื้อ ฉะนัน แม่ทัพผู้รู้การศึก จึงเป็นผู้กุมชะตากรรมของทวยราษฎร์ เป็นผู้บันดาลความสงบสุขหรือภยันตรายของประเทศชาติ



ทำธุรกิจก็เหมือนทำสงคราม เราต้องแย่งชิงความเป็นใหญ่ในตลาดและสร้างยอดขายให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแต่ละบริษัทมีวิธีดำเนินการไม่เหมือนกัน วิธีก็คือแผนที่จะสร้างยอดขาย ซึ่งแน่นอนว่าทุกฝ่ายจะต้องทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการตลาด การเงิน ฝ่ายบุคคุล และหน่วยงานกลยุทธ ยกตัวอย่างเช่น หน่วยงานกลยุทธต้องนำเสนอแผนออกมาในที่ประชุมว่าเราจะสร้างความแตกต่างในการทำธุรกิจอย่างไรให้ไม่เหมือนกับบริษัทอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้ความคิดเท่านั้น ถามว่าใครเป็นคนที่จะรู้ว่าโครงการที่จะดำเนินการนั้น เป็นไปได้ และสามารถสร้างกำไรได้มากที่สุด? แน่นอนมันต้องเป็นฝ่ายการเงินที่จะเขียน budget และวิเคราะห์และคาดการณ์ผลประกอบการบริษัทที่จะได้ออกมาในอนาคตร่วมกับฝ่ายการตลาด ซึ่งมีฐานข้อมูลของลูกค้าอยู่แล้ว เมื่อฝ่ายการเงินเห็นว่าแผนหรือโครงการนี้ทำให้เกิดผลกำไร ที่นี่ CEO หรือกรรมการบริษัท ก็ต้องตัดสินใจว่าจะใช้แผนไหนตามที่ลูกน้องเสนอมาทั้งหมดบนพื้นฐานของกำไร

แน่นอนว่าโครงการที่จะดำเนินในอนาคตนั้นจะต้องเกิดผลและสำเร็จในเวลาที่เร็วที่สุดที่เป็นไปได้ เพราะเงินคือพลังของธุรกิจ และโลกหมุนอยู่ทุกวัน ซึ่งทำให้เทรนด์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ซึ่งถ้าแผนธุรกิจนี้ยังคงถูกใช้นานเกินไปจะส่งผลเสียต่อบริษัอย่างแน่นอน แต่ในการแข่งขันของธุรกิจทุกอย่างก็ไม่แน่ไม่นอนเสมอไป เพราะฉะนั้นเราควรวางแผนให้ละเอียดรอบคอบให้มากที่สุด ว่าแผนนั้นควรเป็นระยะสั้นหรือยาว

ในหลักการบริหารแล้วการทำโครงการอะไรนานๆแล้วไม่เห็นผลหรือสิ่งตอบแทนที่ได้จากสิ่งที่ทำก็จะส่งผลต่อกำลังใจของพนักงานในบริษัทในการทำงาน ซึ่งในที่สุดแล้วเราก็จะแพ้ในสงครามธุรกิจ

ยิ่งไปกว่านั้นพนักงานองค์กรที่ดีจะต้องนำเอาทรัพยากรของบริษัทมาน้อยที่สุดมาใช้ให้เกิดผลมากที่สุด ถึงจะเรียกว่ามีความเป็นมืออาชีพ

ในบางครั้งเราก็ควรรู้สถานะตัวเองว่าเหมาะสมหรือไม่ที่จะไปแข่งกับบริษัทที่ใหญ่และมีทรัพยากรกว่ามาก เช่น บุคคลากร และเงินทุน หรือเป็นบริษัทที่มีฐานลูกค้าหรือสlogisticsที่ดีกว่า บางทีการทำอะไรเกินความสามารถก็จะส่งผลเสียให้แก่บริษัทมหาศาล ซึ่งเราก็ควรไต่ตรองว่า เราควรทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงความได้เปรียบของเขา และนำเอาจุดอ่อนของเขามาสร้างเป็นจุดแข็งของเรา ซึ่งก็ตรงกับหลักพิชัยสงคราม ที่กล่าวว่า เลี่ยงแข็งตีอ่อน




credit ภาพจาก www.thehindubusinessline.in

ไม่มีความคิดเห็น: