วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตำราพิชัยสงครามซุนวูกับการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ บทที่ 3

สวัสดีครับ ห่างหายไปกันไปนานพอสมควรวันนี้ เราจะมาพูดถึง พิชัยสงครามซุนวู บทที่ 3 นั่นคือ ยุทธศาสตร์การรุก หรือ Offensive Strategy นั่นเอง บทนี้เป็นการนิยามการชนะสงครามว่าแบบไหนเป็นการชนะที่แท้จริง คุณสมบัติและสถานการณ์ของกองทัพเป็นอย่างไรยามศึกสงคราม...


พิชัยสงครามซุนวู บทที่ 3 (ขอบคุณข้อมูลจาก www.thaisamkok.com)
อันหลักการทำศึกนั้น บ้านเมืองสมบูรณ์เป็นเอก บ้านเมืองบอบซ้ำเป็นรอง กองทัพสมบูรณ์เป็นเอก กองทัพบอบซ้ำเป็นรอง กองพลสมบูรณ์เป็นเอก กองพลบอบซ้ำเป็นรอง กองร้อยสมบูรณ์เป็นเอก กองร้อยบอบซ้ำเป็นรอง เหตุนี้ รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ยังหาใช้ความยอดเยี่ยมในความยอดเยี่ยมไม่ มิต้องรบแต่สยบทัพข้าศึกได้ จึงจะเป็นความยอดเยี่ยมในความยอดเยี่ยมฉะนั้น การบัญชาทัพชั้นเอกคือชนะด้วยอุบาย รองมาคือชนะด้วยการทูต รองมาคือชนะด้วยการรบ เลวสุดคือการตีเมืองเป็นเรื่องสุดวิสัย เพราะการสร้างรถโล่ การเตรียมยุทโธปกรณ์ สามเดือนจึงแล้วเสร็จ การถมเนินเข้าตีเมือง ต้องอีกสามเดือนจึงลุล่วง แม่ทัพจักกลั่นโทสะมิได้ ทุ่มทหารเข้าตีดุจจอมปลวก ต้องล้มตายหนึ่งในสาม แต่เมืองก็มิแตก นี้คือความวิบัติจากการตีเมืองฉะนั้น ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จักสยบทัพข้าศึกได้โดยมิต้องรบ จักยึดเมืองข้าศึกโดยมิต้องตี จักทำลายประเทศข้าศึกได้โดยมิต้องนาน จักครองปฐพีได้ด้วยชัยชนะอันสมบูรณ์ ดังนี้ กองทัพมิต้องเหน็ดเหนื่อยยากเข็ญ ก็ได้ชัยชนะอย่างสมบูรณ์ นี้คือกลวิธีแห่งการรุกฉะนั้น หลักการบัญชาทัพคือ มีสิบเท่าให้ล้อม มีห้าเท่าให้รุก มีหนึ่งเท่าให้แยก มีเท่ากันก็รบได้ มีน้อยกว่าก็เลี่ยงหนี มีไม่ทัดเทียม ก็หลบหลีก เหตุนี้ ด้อยกว่าข้าศึกยังขืนรบ ก็จักตกเป็นเชลยข้าศึกที่เข้มแข็งอันแม่ทัพนั้น คือผู้ค้ำจุนประเทศ ถ้ารอบคอบ บ้านเมืองจักเข้มแข็ง ถ้าบกพร่อง บ้านเมืองจักอ่อนแอประมุขนำความวิบัติแก่กองทัพมีสาม ไม่รู้ว่ากองทัพรุกมิได้บัญชาให้รุก ไม่ได้รู้ว่ากองทัพถอยมิได้ก็บัญชาให้ถอย นี้เรียกว่าจำจองกองทัพ ไม่รู้เรื่องของสามทัพ แต่เข้าสอดแทรกกิจการของสามทัพ แม่ทัพนายกองก็สับสน ไม่ได้รู้อำนาจของสามทัพ แต่เข้าแทรกแซงการบัญชาของสามทัพ แม่ทัพนายกองก็สงสัย เมื่อแม่ทัพนายกองทั้งสับสนและสงสัย เจ้าครองแคว้นอื่นก็จะนำภัยมาสู่ นี้เรียกว่าก่อกวนกองทัพ ชักนำข้าศึกให้ชนะฉะนั้น เราสามารถล้วงรู้ชัยชนะได้ห้าทาง ผู้รู้ว่าควรรบหรือไม่ควรรบจักชนะ ผู้เข้าใจการรบในภาวะกำลังมากหรือกำลังน้อยจักชนะ ฝ่ายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งชั้นบนและชั้นล่างจักชนะ ฝ่ายพร้อมรบบุกฝ่ายไม่พร้อมรบจักชนะ ฝ่ายแม่ทัพมีปัญญาประมุขไม่ยุ่งเกี่ยวจักชนะ ห้าทางนี้คือวิธีแห่งการล้วงรู้ชัยชนะฉะนั้น จึงกล่าวว่า รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิพ่าย ไม่รู้เขาแต่รู้เรา ชนะหนึ่งแพ้หนึ่ง ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ทุกรบจักพ่าย 

ในบรรทัดแรกของบทนี้ซุนวูได้กล่าวถึงนิยามของชัยชนะที่ควรจะเป็นกล่าวคือ การทำให้ข้าศึกยอมแพ้หรือยอมจำนนนั่นเอง ถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? ตามที่เราเคยเห็นนิยามของชัยชนะในสงครามคือการทำให้ศัตรูตายไปให้หมด แต่วิธีนี้เป็นเพียงวิธีหนึ่ง แต่การชนะที่ดีที่สุดคือการทำให้ศัตรูจำนนเพราะว่านอกจากเราจะไม่ต้องเปลืองทรัพยากรในการรบ ซ้ำยังได้กำลังมาเสริมทัพอีกด้วย หลักนี้ถือเป็นหลัก win-win ก็คือฝ่ายที่จำนนนอกจากจะไม่สูญเสียทรัพย์สิน ยังคงมีชีวิตต่อไปได้ ส่วนฝ่ายที่บุกยึดก็ได้ประโยชน์มากมายจากที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ถ้าเปรียบในทางธุรกิจก็เหมือนการซื้อกิจการที่อยู่ในสภาวะวิกฤตทางการเงิน ซึ่งจะเกิดขึ้นในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งทางบริษัทได้เล็งเห็นว่าการซื้อสามารถสร้างผลกำไรได้และช่วยส่งเสริมการทำยอดขายจากธุรกิจเดิมด้วย



ซุนวูได้ให้ความสำคัญแก่การฑูตหรือการเจรจาเพื่อผลประโยชน์ที่ลงตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่รุนแรงและไม่ก่อให้เกิดความลำบากแก่คนอื่น นั่นหมายความว่าการเจรจาทางธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะการใช้คำพูดต่างๆจะมีผลต่อดีลนั้นๆ

ต่อมาคือซุนวูได้บอกว่ากษัตริยราชมักนำความเสียหายสู่ประเทศชาติมาสู่กองทัพ มี 3 สิ่งคือ

  1. กองทัพไม่สามารถคืบหน้าได้ แต่สั่งให้เดิน 
  2. การแทรกแซงการบริหารของแม่ทัพ 
  3. ไม่เข้าใจสถานการณ์แต่แทรกแซงการบังคับบัญชาของแม่ทัพ
กษัตริย์ก็เหมือน CEO แหละครับ ในองค์กรใดก็ตามที่มี CEO ไม่รู้จักการประเมินสถานการณ์ รู้ว่าอะไรควรไม่ควรทำตอนนี้ หรือแทรกแซงการทำงานของฝ่ายต่างๆมากเกินไปก็จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ยาก เพราะแต่ละฝ่ายย่อมต้องใช้ความเชี่ยวชาญซึ่งผู้บริหารบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องลงมือเอง ซ้ำการแทรกแซงแบบนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อพนักงาน ซึ่งจะทำให้โครงสร้างภายในขององค์กรเสียก็เป็นได้ 
อย่างไรก็ตามซุนวูได้สรุปว่าใครสามารถวิเคราห์สถานการณ์ได้ถูกต้องมักจะเป็นฝ่ายชนะกล่าวคือต้องรู้ว่า
  1. ควรรบหรือไม่ควรรบ
  2. ควรใช้กำลังทหารมากเพียงใด
  3. เบื้องบนกับเบื้องล่างเป็นหนึ่งเดียว
  4. เตรียมพร้อมรับข้าศึกที่ไม่เตรียมพร้อม
  5. แม่ทัพมีความสามารถ และกษัตริย์ไม่แทรกแซงกิจการของกองทัพ
เห็นได้เลยว่าการทำแผนธุรกิจหรือกลยุทธขึ้นมาก็ต้องวิเคราะห์จากสิ่งนี้ทั้งนั้น หนังสือที่มีชีวิตถึง2000กว่าปีก็ยังให้คำตอบแก่เราได้ ข้อแรกคือรู้ตัวเองว่าควรสู้กับคู่แข่งตอนนี้หรือไม่ หรือวิธีนี้หรือไม่ ข้อสองคือการกำหนดงบประมาณออกมาให้เห็นตั้งแต่เริ่มต้นวางแผน ซึ่งจะลดความเสี่ยงและตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปได้ สามคือผู้บริหาร เจ้ากิจการ และพนักงานทุกคนล้วนทำงานด้วยเป้าหมายเดียวกันอย่างสามัคคี ข้อสี่ก็คือเตรียมพร้อมที่จะแข่งขันตลอดเวลาเป็นการทำให้รู้สึกมีการตื่นตัวพร้อมเจอปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ข้อห้าคือผู้บริหารมีประสิทธิภาพและเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นไม่แทรกแซงงานบริหาร

ถ้าเราสามรถวิเคราะห์สถานการณ์ได้แบบนี้ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเชิงธุรกิจ เราก็จะสามารถเอาตัวรอดและแข็งแกร่งตลอดเวลาได้ ดั่งเช่นคำพูดที่ทุกคนได้ยินกันคือ "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" นั่นเอง

picture credit: zazzle.com


ไม่มีความคิดเห็น: